เสียงพยัญชนะในภาษาลาวเป็นเสียงที่เกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์ทําให้ลมออกจากปอดขณะที่ลมผ่านหลอดลม หรือออกมาทางเดินช่องลม ลมอาจจะถูกสกัดกั้น ณ ที่ใดที่หนึ่งตั้งแต่ในลําคอ ในช่องปาก หรือในช่องจมูก และลมอาจถูกสกัดกั้นไว้ทั้งหมด หรือบางส่วนแล้วจึงผ่านออกมาภายนอก ทําให้เกิดเป็นเสียงพยัญชนะต่างๆ กันขึ้น เสียงชนิดนี้ได้แก่เสียงที่อยู่ต้นพยางค์ต่อไปนี้ กะ กา บิ บี (ກະ ກາ ບິ ບີ) เสียงพยัญชนะมีทั้งเสียงก้อง และไม่ก้อง
พยัญชนะในภาษาลาว
พยัญชนะในภาษาลาวมี 27 ตัวดังนี้
ກ | ຂ | ຄ | ງ | ຈ | ສ |
---|---|---|---|---|---|
ຊ | ຍ | ດ | ຕ | ຖ | ທ |
ນ | ບ | ປ | ຜ | ຝ | ພ |
ຟ | ມ | ຢ | ຣ | ລ | ວ |
ທ | ອ | ຮ |
วิธีอ่านพยัญชนะ
พยัญชนะคือเครื่องหมายหมวดหนึ่งในอักษรลาวสมมุติกันขึ้นมา อ่านเป็นคำดังประกอบด้วยสระ ออ ( _ໍ ) เช่น
ກໍ | ຂໍ | ຄໍ | ງໍ | ຈໍ | ສໍ |
---|---|---|---|---|---|
ຊໍ | ຍໍ | ດໍ | ຕໍ | ຖໍ | ທໍ |
ນໍ | ບໍ | ປໍ | ຜໍ | ຝໍ | ພໍ |
ຟໍ | ມໍ | ຢໍ | ຣໍ | ລໍ | ວໍ |
ທໍ | ອໍ | ຮໍ |
การอ่านก็อ่านออกเสียงคล้ายภาษาไทย เพียงแต่ปรับเสียงเล็กน้อยเท่านั้น
ກ ໄກ່ | ຂ ໄຂ່ | ຄ ຄວາຍ | ງ ງົວ | ຈ ຈອກ |
---|---|---|---|---|
ສ ເສືອ | ຊ ຊ້າງ | ຍ ຍຸງ | ດ ເດັກ | ຕ ຕາ |
ຖ ຖົງ | ທ ທຸງ | ນ ນົກ | ບ ແບ້ | ປ ປາ |
ຜ ເຜີ້ງ | ຝ ຝົນ | ພ ພູ | ຟ ໄຟ | ມ ແມວ |
ຢ ຢາ | ຣ ຣົດ | ລ ລີງ | ວ ວີ | ຫ ຫ່ານ |
ອ ໂອ | ຮ ເຮືອນ |
การอ่านพยัญชนะพิเศษ
พยัญชนะ “ย” สองตัว ให้เขียนหางยาวขึ้นไปเป็น “ຢ” ออกเสียงเป็น “หย” คือเท่ากับตัว “ห” กับ “ย” (อ่านว่า หยอ)
ในทำนองเดียวกันนี้ ตัว “หน”, “หม” อ่านออกเสียงว่า “หนอ”, “หมอ” เวลาเชียนให้เขียนติดกันเป็น “ໜ”, “ໝ” หรือเขียนแยกเป็น “ຫນໍ”,”ຫມໍ” (อ่านว่า หนอ, หมอ) เป็นต้น
ตัว “ล” ควบให้เขียนห้อย เช่นคำว่า
หรือ | เขียนว่า | ຫຼື |
---|---|---|
หลวง | เขียนว่า | ຫຼວງ |
หลาย | เขียนว่า | ຫຼາຍ |
หลักการดังกล่าวนี้ก็ไม่ใช่กฎตายตัว หากแต่ขึ้นอยู่กับผู้เขียนแต่ละคน เพื่อความสะดวกและสวยงาม จึงนิยมเขียนเรียงตัวแบบภาษาไทยก็ได้เช่นคำว่า
หรือ | เขียนว่า | ຫລື |
---|---|---|
หลวง | เขียนว่า | ຫລວງ |
หลาย | เขียนว่า | ຫລາຍ |
หลักการใช้ตัว "ຽ" ตัว "ย เฟื้อง"
ตัว ຽ (ย เฟื้อง) ถ้าใช้แทนเสียงสระเมื่อมีตัวสะกด จะเท่ากับสระ “เอีย” เช่น
เรียน | เขียนว่า | ຮຽນ |
---|---|---|
เขียน | เขียนว่า | ຂຽນ |
เทียน | เขียนว่า | ທຽນ |
ชนิดพยัญชนะในภาษาลาว
พยัญชนะในภาษาลาวซึ่งมี 27 ตัว แบ่งกลุ่มตามการออกเสียงได้ 3 หมู่ดังนี้
ກ | ຈ | ດ | ຕ | ບ | ປ | ຢ | ອ |
---|
ຂ | ສ | ຖ | ຜ | ຝ | ຫ |
---|---|---|---|---|---|
ຫງ | ຫຍ | ຫນ | ຫມ | ຫວ | ຫຼ หรือ ຫລ |
ຄ | ຊ | ທ | ພ | ຟ | ຮ | ງ |
---|---|---|---|---|---|---|
ຍ | ນ | ມ | ຣ | ລ | ວ |
หลักเกณฑ์การแบ่งหมวดอักษร
การจัดพยัญชนะเป็นอักษร 3 หมู่ คือ อักษรกลาง, สูง, ต่ำ นี้ไม่ได้หมายความว่าอักษรเหล่านี้มีเสียงสูง กลาง ต่ำ หรือมีเสียงออกจากคอ ลิ้น ฟัน แต่อย่างใด เช่น
การ (ການ) นาน (ນານ) เสียงไม่แตกต่างกัน
กาด (ກາດ) สาด (ສາດ) เสียงไม่แตกต่างกัน
แต่การจัดแบ่งพยัญชนะออกเป็น 3 หมู่นี้เพื่อจะได้เข้าใจการประกอบอักษรนำ และการใช้วรรณยุกต์ ส่วน “อักษรต่ำคู่” คืออักษรต่ำซึ่งมีคู่อยู่ในหมู่อักษรสูง “อักษรต่ำคี่” คืออักษรต่ำซึ่งไม่มีคู่ในหมู่อักษรสูงมีอยู่ 7 ตัวคือ
ງ | ຍ | ນ | ມ | ຣ | ລ | ວ |
---|
อักษรประสม
เมื่อใช้ “ห” (ຫ) นำหน้าอักษร “ງ, ຍ, ນ, ມ, ຣ, ລ, ວ” อักษรทั้ง 7 นี้ก็จะกลายเป็นเสียงอักษรสูง ตัว “ห” (ຫ) ไม่ออกเสียง อักษรสองตัวประสมกันนั้นเรียกว่าอักษรประสม อักษรทั้ง 7 ดังกล่าวเมื่อมี “ห” (ຫ) จะเป็นดังนี้
ຫງ | ຫຍ | ຫນ | ຫມ | ຫຣ | ຫລ | ຫວ |
---|
แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาเขียน ให้เขียนดังนี้
ຫຍ | ໜ | ໝ | ຫຼ |
---|
วิธีใช้สระ
สระจะวางไว้ข้างบน หรือข้างล่างอักษรผสม ต้องวางไว้ข้างบน หรือข้างล่างตัวอักษรที่ 2 เสมอ เช่น
ໝາ | อ่านว่า | หมา | ໝີ | อ่านว่า | หมี |
---|---|---|---|---|---|
ໝູ | อ่านว่า | หมู | ໜູ | อ่านว่า | หนู |
ເໜືອ | อ่านว่า | เหนือ | ໜາ | อ่านว่า | หนา |
ເຮືອໄຫຼ | อ่านว่า | เรือไหล | ຫວີຫົວ | อ่านว่า | หวีหัว |
ຫຼື | อ่านว่า | หรือ | ເໝັນ | อ่านว่า | เหม็น |