เมื่อได้เอกสารที่ผ่านการรับรองจาก กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ แล้ว ก็นับได้ว่าเอกสารหลักๆ ที่สำคัญของฝ่ายคนไทย ของเราได้เกือบครบแล้ว แต่ยังต้องมีเอกสารอีก 4 อย่างที่เราจำเป็นต้องเขียนขึ้นเอง และต้องผ่านการยืนยัน ลงนามจากบุคคลที่เกี่ยวข้องของฝ่ายไทยให้เรียบร้อยเสียก่อน นั่นจึงจะถือได้ว่า เรามีเอกสารครบหมดทุกอย่าง พร้อมเดินทางกลับ สปป. ลาว ไปดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
แต่ก่อนอื่น อยากทำความเข้าใจก่อนว่า เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรสไทย-ลาว ของฝ่ายคนไทยนั้น กฎหมายมีระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า ฝ่ายคนลาวต้องมีเอกสารอะไร ฝ่ายคนไทยต้องมีเอกสารอะไรบ้าง? (ดูได้จากบทความ “ดำรัสว่าด้วยกรแต่งงานระหว่างคนลาวกับคนต่างประเทศ ฉบับปี 2021” ด้านล่างนี้
ดำรัสฉบับนี้ กำหนดหลักการ, ระเบียบการ และมาตรฐานเกี่ยวกับการคุ้มครอง และติดตาม ตรวจตรา การแต่งงานระหว่างพลเมืองลาว กับคนต่างประเทศ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีชุดเอกสารอีกชุดหนึ่ง ที่ออกโดยแผนกภายในแขวง (สถานที่ ที่เราไปซื้อแบบฟอร์มจดทะเบียนสมรสไทยลาวนั่นแหละ) ได้ระบุในบทแนะนำ เกี่ยวกับการแต่งงานระหว่างพลเมืองลาว กับคนต่างประเทศ โดยระบุรายการเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนสมรสแตกต่างจากดำรัสว่าด้วยการแต่งงานระหว่างคนไทย กับคนต่างประเทศ ฉบับปี 2021 มีรายละเอียดดังนี้
No | รายการ | ລາຍການ | ดำรัสนายก | แผนกภายใน | ||
ไทย | ลาว | ไทย | ลาว | |||
1 | แบบรับรองทะเบียนราษฏร์ | ໃບຢັ້ງຢືນທີ່ຢູ່ | มี | ไม่มี | มี | มี |
2 | สำเนาบัตรประชาชน | ສຳເນົາບັດປະຊາຊົນ | ไม่มี | มี | มี | มี |
3 | หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส | ໃບຢັ້ງຢືນສະຖານະພາບຂອງບຸກຄົນ | มี | มี | มี | มี |
4 | ใบรับรองแพทย์ (ไม่เกิน 3 เดือน) | ໃບຢັ້ງຢືນສຸຂະພາບ | มี | มี | มี | มี |
5 | หนังสือรับรองความประพฤติ (ไม่เกิน 3 เดือน) | ໃບແຈ້ງໂທດ | มี | มี | มี | มี |
6 | ใบรับประกันส่งคนลาวกลับคืนประเทศ | ໃບຮັບປະກັນໃຫ້ຄູ່ສົມລົດຄົນລບາວກັບຄືນປະເທດ | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี |
7 | สำเนาหนังสือเดินทาง | ສຳເນົາໜັງສືຜ່ານແດນ | มี | ไม่มี | มี | มี |
8 | คำเห็นสถานทูต/กงสุล | ຄຳເຫັນສະຖານທູດ/ກົງສຸນ | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี |
9 | คำร้องขอแต่งงาน | ຄຳຮ້ອງຂໍແຕ່ງດອງ | มี | มี | มี | มี |
10 | ชีวประวัติย่อ | ຊີວະປະຫວັດຫຍໍ້ | มี | มี | มี | มี |
11 | ใบยั่งยืนฐานะเศรษฐกิจ/ใบแจ้งทรัพย์สิน | ໃບຢັ້ງຢືນຖານະເສດຖະກິດ/ໃບແຈ້ງຊັບສິນ | มี | ไม่มี | มี | มี |
12 | รูปถ่ายขนาด 3x4 cm. | ຮູປຂະໜາດ 3x4 cm. | มี | มี | มี | มี |
13 | สำเนาทะเบียนบ้าน | ສຳເນົາສຳມະໂນຄົວ | ไม่มี | มี | มี | มี |
14 | บทบันทึกการสู่ขอ หรือหนังสือหมั้นหมาย | ບົດບັນທຶກການສູ່ຂໍ ຫຼື້ ໜັງສືໝັ້ນໝາຍ | ไม่มี | มี | มี | มี |
15 | ใบเกิด | ໃບຢັ້ງຢືນການເກີດ | ไม่มี | มี | ไม่มี | มี |
16 | ใบยืนยันเห็นดีจากการจัดตั้งที่ผู้เกี่ยวสังกัด (สำหรับพนักงานรัฐ) | ໃບຢັ້ງຢືນເຫັນດີຈາກການຈັດຕັ້ງທີ່ຜູ້ກ່ຽວສັງກັດ (ສຳລັບພະນັກງານ ລັດຖະ-ກອນ) | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี |
17 | ใบอนุญาตจากผู้ปกครอง | ໃບອະນຸຍາດຈາກຜູ້ປົກຄອງ | ไม่มี | ไม่มี | มี | มี |
ดังนั้น ถ้าเปรียบเทียบรายการเอกสารที่จำเป็น ระหว่าง ดำรัสของนายกรัฐมนตรีลาว กับบทแนะนำของแผนกภายในแขวง จะพบว่ามีความไม่ตรงกัน มีเอกสารที่งอกขึ้นมาเพิ่มเติมจากดำรัสนายกฯ ซึ่งถือเป็นกฎหมายหลัก หมายถึงดำรัสนายกไม่ได้ระบุไว้ให้มี แต่ในบทแนะนำแผนกภายในแจ้งไว้ว่าต้องมี เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว จะทำอย่างไรดี?

ปัญหาทีเราต้องมานั่งพิจารณาคือ ถ้าเรายึดรายการเอกสาร จากดำรัสของนายกรัฐมนตรี แล้วลุยเดินหน้าไปยื่นเอกสารตามกระบวนการ และเมื่อหน่วยงานผู้รับเรื่องในขั้นตอนต่างๆ โดยเฉพาะหน่วยงาน ปกส. เมือง ที่เป็นหน่วยงานผู้รับรองเอกสารของเราในขั้นตอนแรก ถ้าเขายึดเอาการอ้างอิงเอกสารของแผนกภายใน เราก็จะเจอปัญหาเอกสารไม่ครบขึ้นมาทันที และนั่นก็จะเป็นการเปิดช่องทางให้มีการเสนอเงื่อนไขพิเศษ ซึ่งจะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับแต่ละที่ โชคร้ายกว่านั้น อาจมี หรือไม่มีการเรียกเงินพิเศษ แต่จะบอกให้เรากลับไปทำเอกสารที่ขาดมาให้ครบ แล้วมายื่นใหม่ ซึ่งแน่นอนมันต้องใช้เวลาไม่น้อยเลย เสียเวลามากๆ ด้วย
ครั้นเราจะดึงดัน ยืนยันรายการเอกสาร ตามดำรัสของนายกกับทางเจ้าหน้าที่ตรงนั้น ผู้เขียนไม่คิดว่า เราจะได้เปรียบ และสามารถโต้แย้งได้อะไรได้ เพราะนี่เป็นประเทศของเขา ดังนั้น การเตรียมเอกสารไปให้ครบเลยจะดีที่สุด แม้มันจะดูเหมือนไม่จำเป็นต้องทำ (ยกตัวอย่างใบอนุญาตผู้ปกครองให้แต่งงานนี่ ผู้เขียนไม่คิดว่ามันจำเป็นสำหรับผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และไม่เห็นด้วยที่จะต้องทำไป) แต่ก็ทำไปเถอะ มันไม่ได้เสียเวลาอะไรมากนัก ถ้าทำแล้วจะหมดข้อโต้แย้งเรื่องเอกสารไม่ครบได้ ก็ถือว่าคุ้มค่า
โดยเอกสารที่เราฝ่ายคนไทยจะต้องทำเพิ่ม เป็นเอกสารง่ายๆ คล้ายบันทึกรับประกันส่งตัวตนลาวกลับประเทศนั่นแหละ และเอกสารที่จะต้องทำเพิ่มมีอยู่ 1 อย่าง เพิ่มเติมจากเอกสารที่อยู่ในรายการดำรัสของนายก ที่จะต้องทำเพิ่มอีก 3 อย่าง รวมเป็น 4 อย่างดังนี้
- ชีวประวัติย่อ (ดำรัสนายก)
- ใบคำร้องขอแต่งงาน (ดำรัสนายก)
- ใบยั่งยืนฐานะเศรษฐกิจ (ดำรัสนายก)
- หนังสืออนุญาตจากผู้ปกครอง (ทำเพิ่ม)
ดาวน์โหลดเอกสาร
ใบยืนยันฐานะทางเศรษฐกิจ (ໃບຢັ່ງຢືນຖານະເສດຖະກິດ) เป็นเอกสารหลักที่ปรากฎอยู่ใน ดำรัสว่าด้วยการแต่งงานระหว่างคนลาว กับคนต่างประเทศ
ใบคำร้องขอแต่งงาน (ໃບຄຳຮ້ອງຂໍແຕ່ງດອງ) เป็นเอกสารหลักที่ปรากฎอยู่ใน ดำรัสว่าด้วยการแต่งงานระหว่างคนลาว กับคนต่างประเทศ ฉบับปี 2021 นั่น
ใบชีวประวัติย่อ (ໃບຊີວະປະຫວັດຫຍໍ້) เป็นเอกสารหลักที่ปรากฎอยู่ใน ดำรัสว่าด้วยการแต่งงานระหว่างคนลาว กับคนต่างประเทศ ฉบับปี 2021 นั่นหมายถึงเป็น
หนังสืออนุญาตจากผู้ปกครอง (ໜັງສືອະນຸຍາດຈາກຜູ້ປົກຄອງ) ไม่ได้เป็นเอกสารหลักที่ปรากฎอยู่ใน ดำรัสว่าด้วยการแต่งงานระหว่างคนลาว กับคนต่างประเทศ
ข้อแนะนำ อุปสรรค ปัญหา ในขั้นตอนนี้
ผู้เขียนขอแยกขั้นตอนออกเป็น 2 ส่วนคือ ขั้นตอนการแปลเอกสารจากภาษาไทยเป็นภาษาลาว และขั้นตอนการนำไปยื่นขอรับรองการแปลที่กระทรวงยุติธรรม
ขอเล่าประสบการณ์ให้ฟังนิดนึง ทีแรกเลย ผู้เขียนนำเอกสารทั้งหมดไปให้ศาลประชาชนสูงสุดแปล เพราะจะได้ไม่ต้องผ่านบริษัทรับแปล คือให้ศาลแปล แล้วรับรองให้เลย เพราะฟังจากประสบการณ์ของเพื่อนๆ หลายคนก็ใช้วิธีนี้ แต่ปรากฎว่าผู้เขียนไปผิดศาลคือไปศาลประชาชนสูงสุด เขาต้องให้ไปกระทรวงยุติธรรม แขนงทะเบียนศาล สรุปว่าที่นี่ (แม้จะผิดศาล) เขาก็รับแปลนะ แต่คิดแผ่นละ 500,000 กีบ (คือเจ้าหน้าที่ศาลรับงานเอง เงินเข้ากระเป๋าตัวเองแหละ แต่คิดราคาโครตแพง) ราคาคิดเป็นเงินไทยก็เกือบแผ่นละ 600 บาท (mfn) อัตรา ณ เม.ย. 2025 อัตราแลกเปลี่ยน 1 บาท เท่ากับ 630 กีบ(/mfn) รวม 12 แผ่นราคาก็เกือบหมื่น มันใช่หรอ? ผู้เขียนเลยถอย แล้วกลับมาปรึกษาเพื่อนก่อน เพราะสู้ราคาไม่ไหวจริงๆ
ต่อมา เพื่อนก็แนะนำบริษัทรับจ้างแปลให้ แปลเสร็จ เราจึงนำไปยื่นที่กระทรวงยุติธรรมตามขั้นตอน ทีนี้ไปถูกที่ละ.. ปรากฎว่าเราเข้าไปไม่ถึงจุดที่ยื่น เพราะเจอเจ้าหน้าที่ (เราขอไม่บอกว่าเขาเป็นใคร ตำแหน่งไหน) เข้ามาติดต่อ และเสนอช่องทางพิเศษให้ ราคาที่เขาเสนอเรามาก็พอรับได้ คือน้อยกว่าที่เจอที่แรกเกินครึ่ง เราเลยรับข้อเสนอ เบ็ดเสร็จต รวมค่าแปล และค่ารับรองศาล ก็ยังถูกกว่าที่แรกที่ไปเจอ และได้ชัวร์ ได้เร็วด้วย
สำหรับเพื่อนๆ ท่านใดที่มาถึงขั้นตอนนี้แล้วติดปัญหาเรื่องการแปล และรับรองเอกสารที่ศาล ไม่ต้องกังวล หรือหนักใจอะไรนะครับ ติดต่อผู้เขียนมาครับ ทาง Line ทาง WhatsApp ด้านล่างบทความนี้เลย แล้วผู้เขียนจะแนะนำแนวทางให้ครับ
ค่าใช้จ่ายตรงนี้ ดูจะหนักเหมือนกันนะสำหรับผู้เขียน แต่ก็คิดว่า น่าจะเป็นค่าใช้จ่ายเพียงไม่กี่ก้อนแล้วที่จะต้องจ่าย และหลังจากนี้ เอกสารของเราก็พร้อมเดินทางไปยัง ปกส. เมือง ตามด้วย ปกส. แขวง เพื่อนัดสัมภาษณ์ แล้วก็รับรองเอกสารที่กงสุลลาว เวียงจันทน์ ก็เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนแล้ว อดทน.. เพื่อคนที่เรารัก ยังไงก็สู้ต่อ ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนครับ