ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีความเป็นมาคู่กับประเทศไทย มีศิลปะวิทยาการที่เจริญรุ่ง เรืองมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีภาษาลาวเป็นภาษาประจําชาติ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า นับแต่เจ้าฟ้างุ่มมหาราชได้รวบรวมแผ่นดิน และประชาชนให้อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 1869 ที่เรียกว่าอาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรนี้ได้เจริญรุ่งเรืองมาตามลําดับ จนถึงสมัยเจ้าสุริยวงศาขึ้นปกครองประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2176-2233 ในรัชกาลนี้ถือว่าอาณาจักรล้านช้างเจริญรุ่งเรือง สูงสุด มีอาจารย์ นักปราชญ์ เขียนหนังสือคัมภีร์ ฎีกา กฎหมาย เป็นตำราเผยแพร่ไปทั่วอาณาจักร
นอกจากนี้ วัดวาอารามยังได้รับการบูรณะ และก่อสร้างขึ้นมาเป็นจํานวนมาก มีหลักฐานจากการบันทีกของพ่อค้าชาวฮอลันดาได้เข้าไปค้าขายกับลาวในสมัยนั้น บันทึกไว้ว่า “นครเวียงจันทน์มีวัดพุทธศาสนามากมาย มีพระภิกษุสงฆ์สามเณรร่ำเรียนอยู่ในวัดมากกว่าทหารอยู่ในกองทัพ” หลังจากสมัยของเจ้าสุริยวงศา อาณาจักรล้านช้างก็เสื่อมลง สาเหตุเพราะเกิดความแตกแยกภายใน และการช่วงชิงกันขึ้นเป็นเจ้าปกครอง เหตุการณ์นี้ได้ดําเนินติดต่อกันมาจนถึง พ.ศ. 2322 ราชอาณา จักรลาวก็ตกเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสยาม (ประเทศไทย) จนถึงปี พ.ศ. 2436 ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับกัมพูชา และเวียดนาม จึงมีชื่อเรียกดินแดนของประเทศทั้งสามนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “อินโดจีนของฝรั่งเศส”
เมื่อฝรั่งเศสปกครองลาวแล้ว ฝรั่งเศสได้ทําสัญญาให้ลาวเป็นประเทศอิสระปกครองตนเอง ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยรวมลาวทุกภาคให้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ราชอาณาจักรลาวเป็นอิสระอยู่ในเครือจักรภพของฝรั่งเศส ได้เป็นเอกราชตามข้อตกลงที่เจนีวาใน พ.ศ. 2497 รัฐบาลชุดแรก มีท้าวผุย ชนะนิกร เป็นนายกรัฐมนตรี เจ้าสุภานุวงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลนี้ก็อยู่ได้ไม่นานก็เกิดความแตกแยกภายใน เพราะผู้น้าฝ่ายขบวนการประเทดลาว (ลาวคอมมิวนิสต์) บางคนได้ร่วมเป็นรัฐมนตรีด้วย สงครามกลางเมืองในลาวจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับสงครามกลางเมืองในเวียดนาม ในรัฐบาลลาวจึงเกิดการปฏิวัติแย่งชิงอํานาจกันอยู่เรื่อยๆ ทําให้ผู้มีอำนาจในลาวแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่าย จนเรียกว่า“ศึกสามเจ้าลาว”
ซึ่งมีลาวฝ่ายขวามีเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ เป็นผู้นํา ลาวฝ่ายเป็นกลางมีเจ้า สุวรรณภูมา เป็นผู้นํา และลาวฝ่ายซ้ายมีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นผู้นํา การสู้รบในลาวได้ดําเนินเรื่อยมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลลาวต่อสู้กับลาวฝ่ายซ้าย (ลาว คอมมิวนิสต์ ) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 สหรัฐอเมริกาเบื่อหน่ายสงครามในอินโดจีนจึงมีการเจรจา จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นใหม่ รัฐบาลผสมคราวนี้ลาวฝ่ายซ้ายมีอํานาจมาก เนื่องจากพวกคอมมิวนิสต์ ได้เปรียบในสงครามเวียดนาม ในขณะเดียวกันฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ชัยชนะในเขมร และในเวียดนามด้วย
พวกฝ่ายซ้ายในลาวก็เริ่มบีบบังคับฝ่ายขวารัฐบาลผสมในลาว จนในที่สุดในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ฝ่ายลาวคอมมิวนิสต์ก็สามารถยึดครองลาวทั่วประเทศได้สําเร็จ โดยการนําของ ท่านไกรสอน พรมวิหาร ได้จัดตั้งรัฐบาลลาวคอมมิวนิสต์ขึ้นปกครองประเทศ และได้เปลี่ยนชื่อราชอาณาจักรลาวเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป. ลาว) แบ่งเขต การปกครองออกเป็น 17 แขวง (จังหวัด) รวมเขตพิเศษอีก 1 เขต คือไชยสมบูรณ์เป็น 18 แขวง นับเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่ประชาชนลาวได้ใช้อักษรลาวบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติลาว เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปะวิทยาการต่างๆ ตลอดจนวรรณกรรมอันล้ำค่าของลาวแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
จึงนับได้ว่าภาษาลาวมีความจําเป็น และสําคัญต่อผู้ที่สนใจที่จะศึกษาเพื่อค้นหาประวัติความเป็นมาของชนชาติต่างๆ ในอาณาเขตรอบตัวเรา ส่วนเรื่องของคุณค่าของภาษาลาวนั้น ก็นับได้ว่าเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นคนลาว เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของลาวอย่างแท้จริง เพราะประชาชนในภูมิภาคบ้านใกล้เรือนเคียงกันซึ่งมีทั้งชาว จีน เขมร เวียตนาม เมียนมาร์ ไทย และลาว ถ้าจะดูที่รูปร่างหน้าตาภายนอกโดยทั่วไปแล้ว เราแทบจะบอกไม่ได้ว่าประชาชนในเชื้อชาติเหล่านี้เป็นคนเชื้อชาติใด แต่ถ้าเมื่อชนชาติเหล่านี้พูดภาษาประจ่าชาติของตน เราก็จะบอกได้ทันทีว่าเขาเป็นชาวจีน เขมร เวียดนาม เมียนมาร์ ไทย หรือลาว
กระแสความต้องการทางการเมืองการปกครองของประเทศค่อนข้างรุนแรง จนกระทั่งในปัจจุบัน ภาษาเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการติดต่อสื่อสาร ภาษาแสดงถึงอดีตความเป็นมาของชนชาติ และเชื้อชาติ ภาษาแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง และความล่มสลายของชนชาติ และเชื้อชาติเพราะภาษาเป็นเครื่องมือสําหรับใช้จดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติ และเชื้อชาติ ภาษาลาวก็มีการจดบันทีกประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศลาว ไม่น้อยไปกว่าที่ประเทศไทย และชนชาติไทยมีภาษาไทยเป็นของตนเอง ภาษาลาวมีกําเนิด และพัฒนาการทางภาษามายาวนานคล้ายกับภาษาไทย ที่มีการพัฒนาของภาษามายาวนานเช่นเดียวกัน ต่างกันแต่ว่าภาษาลาวมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม
แต่ก็กล่าวได้ว่าประเทศลาวเป็นประเทศหนึ่งที่มีภาษาของตนเอง ทั้งภาษาเขียน แบบราชการ และภาษาพูด แบบชาวบ้านทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลที่พูดด้วย และตามสถานการณ์ รวมทั้งการสนทนาพูดคุยกับพระภิกษุสงฆ์อีกส่วนหนึ่งด้วย เนื่องจากภาษาลาวมี การปรับเปลี่ยนเรื่อยมาเป็นยุคสมัย ในแต่ละสมัยก็มีแบบแผนการเขียนแตกต่างกัน หากจะกล่าว โดยสรุปแล้ว แนวทางการเขียนภาษาลาวมีเป็น 3 แนวทาง ดังนี้
แนวทางที่ 1 เขียนสะกดตามแบบของท่านสมจิน ปิแอร์ งิน (Somjin Pierre Ngin) โดยสะกดตามแบบที่ได้กำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีพระราชโองการจากเจ้ามหาชีวิตโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เลขที่ 10 พ.ศ. 2491 โดยให้สะกดตามเสียงที่อ่าน แต่ยังคงรักษาภาษาเดิมไว้
แนวทางที่ 2 เขียนสะกดตามแบบของท่านมหาสีลา วีระวงศ์ โดยให้สะกดตามแบบฉบับ ดั้งเดิมทุกประการ
แนวทางที่ 3 เขียนสะกดตามแบบของท่านภูมิ วงศ์วิจิตร คือให้สะกดตามเสียงที่พูดที่อ่านกันเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างแบบที่ 3 นี้ได้เริ่มใช้หลังจากที่ประเทศลาวได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2518 และยังคงใช้แบบนี้เรื่อยมาจนกระทั่งในปัจจุบัน
ตารางเปรียบเทียบการเขียนภาษาลาว
ภาษาไทย | แบบราชบัณฑิตสภา สมจิน ปิแอร์ งิน | แบบท่านสีลา วีระวงศ์ (ก่อน พ.ศ. 2518) | แบบท่านภูมิ วงศ์วิจิตร (พ.ศ. 2518-ปัจจุบัน) |
กิริยา | ກິຣິຍາ | ກິຣິຍາ | ກິລິຍາ |
กายกรรม | ກາຍກັມ | ກາຍກັມ | ກາຍະກຳ |
การขยาย | ການຂຍາຍ | ການຂຍາຍ | ການຂະຫຍາຍ |
ผม-ฉัน | ຂ້ຽ | ຂ້ຽ | ຂ້ອຍ |
ข้าพเจ้า | ຂນ້ຽ | ຂ້ານ້ຽ | ຂ້ານ້ອຍ |
คณะกรรมการ | ຄນະກັມມະການ | ຄນະກັມມະການ | ຄະນະກຳມະການ |
ค้างคาว | ເຈ້ຽ | ເຈັຽ | ເຈຍ |
คำเสนอ | ຄຳສເນີ | ຄຳສເນີ | ຄຳສະເໜີ |
ครู | ຄຣູ | ຄຣູ | ຄູ |
ความชรา | ຄວາມຊະຣາ | ຄວາມຊະຣາ | ຄວາມຊະລາ |
เจริญ | ຈະເຣີນ | ຈະເຣີນ | ຈະເລີນ |
เจ้ากรม | ເຈົ້າກຣົມ | ເຈົ້າກຣົມ | ເຈົ້າກົມ |
สุจริต | ສຸຈຣິດ | ສຸຈຣິດ | ສຸດຈະລິດ |
สนอง | ສນອງ | ສນອງ | ສະໜອງ |
เสนอ | ສເນີ | ສເນີ | ສະເຫນີ |
สนุก | ສນຸກ | ສນຸກ | ສະນຸກ |
สระ | ສຣະ | ?ຮະ | ສະຫຼະ |
พยัญชนะ | ພຍັນຊນະ | ພຍັນຊນະ | ພະຍັນຊະນະ |
พระสงฆ์ | ພຣະສົງ | ພຣະສົງ | ພະສົງ |
ศาสนา | ສາສນາ | ສາສນາ | ສາສະໜາ |
ทาส | ທາສ | ທາສ | ທາດ |
ถนน | ຖນົນ | ຖນົນ | ຖະຫນົນ |
มูลปฐม | ມູລປະຖົມ | ມູລປະຖົມ | ມູນປະຖົມ |
อาศัย | ອາສັຍ | ອາສັຍ | ອາໃສ |
อันตราย | ອັນຕະຣາຍ | ອັນຕະຣາຍ | ອັນຕະລາຍ |
อารมณ์ | ອາຣົມ | ອາຣົມ | ອາລົມ |
ประโยชน์ | ປໂຍດ | ປໂຍດ | ປະໂຫຍດ |
เป็นระยะ | ເປັນລະຍະ | ເປັນລະຍະ | ເປັນໄລຍະ |
ประโยค | ປໂຍດ | ປໂຍດ | ປະໂຫຍດ |
ประวัติ | ປວັດ | ປວັດ | ປະຫວັດ |
ผัวเมีย | ປົວ ເມັຽ | ຜົວ ເມັຽ | ຜົວ ເມຍ |
เลียมือ | ເລັຽມື | ເລັຽມື | ເລຍມື |
พจนานุกรม | ວັຈນານຸກົມ | ວັຈນານຸກົມ | ວັດຈະນານຸກົມ |
ฝรั่งเศส | ຝະຣັ່ງເສດ | ຝະຣັ່ງເສດ | ຝະລັ່ງເສດ |
วัยเรียน | ວັຍຮຽນ | ວັຍຮຽນ | ໄວຮຽນ |
วรรณกรรม | ວັນນະກັມ | ວັນນະກັມ | ວັນນະກຳ |
ใหญ๋ | ໃຫຽ | ໃຫຽ | ໃຫຍ່ |
ราชการ | ຣາຊການ | ຣາຊການ | ລັດຖະການ |
รัฐมนตรี | ຣັຖມົນຕີ | ຣັຖມົນຕີ | ລັດຖະມົນຕີ |
ฤดูปี | ຣະດູປີ | ຣະດູປີ | ລະດູປີ |
หลวงพระบาง | ຫຼວງພຣະບາງ | ຫຼວງພຣະບາງ | ຫຼວງພະບາງ |
สารบาญ | ສາຣະບານ | ສາຣະບານ | ສາລະບານ |
ผาลอย | ຜາລຽ | ຜາລຽ | ຜາລອຍ |
เดียรัจฉาน | ເດັຽຣະສານ | ເດັຽຣະສານ | ເດຍລະສານ |
ภาษาเป็นพาหนะสําคัญยิ่งที่นําประเทศลาวไปสู่ความเจริญในทุกด้าน มีภาษาพูด ภาษาเขียนเพื่อการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ เอาไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า ดังนั้น จึงจําเป็นต้องมีการกําหนดหลักเกณฑ์ทางภาษาเอาไว้เป็นส่วนสําคัญด้วย โดยเทียบเคียงกับหลักภาษาของนานาอารยประเทศทั้งหลาย จึงจะเห็นว่าภาษาลาวก็มีทั้งส่วนที่เป็นเรื่องการออกเสียงอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ การจําแนกประเภทของพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ คํานาม คําสรรพนามเป็นต้น อันเรียกรวมว่าวจีวิภาค
ทํานองเดียวกับที่มีในการเรียนภาษาไทยทั้งๆ ที่ภาษาลาว และภาษาไทยแบบขนานแท้ตั้งเดิมแต่โบราณนั้นเป็นภาษาคำโดด มีพยางค์เดียว พูดหรือเขียนเข้าใจได้ง่าย เช่น กิน นอน ยืน ย่าง (เดิน) นั่ง แล่น (วิ่ง) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศลาวได้นำภาษาบาลี สันสกฤตเข้าไปใช้อันเกิดจาการรับนับถือพระพุทธศาสนา แบบแผนของภาษาบาลี สันสกฤตก็เข้าปะปนกับภาษาไทย และภาษาลาวจนแทบจะแยกกันไม่ออก ดังนั้น ในการศึกษาภาษาลาวในเล่มนี้ จึงจําเป็นต้องใช้รูปแบบมาตรฐานของการศึกษาภาษาสากลทั่วไป แต่ขอให้เข้าใจว่าแบบแผนการเรียนนี้ ผู้เขียนกําหนดขึ้นโดยเทียบเคียงกับการศึกษาภาษาไทยเป็นแนวทาง ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากประเทศลาวในขณะนี้กําลังอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนวิธีการเขียนภาษาลาวแบบเก่า ให้เป็นแบบใหม่ซึ่งใช้สอนกันอยู่ในโรงเรียนทั่วไปของ ส.ป.ป. ลาว ปัจจุบัน
ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาลาวสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงมากที่สุด ผู้เขียนจึงได้เลือกเรื่องต่างๆ จากหนังสือเรียนของกระทรวงศึกษาธิการลาวมาสำหรับการฝึกหัดอ่านคือเรื่อง ປະເທດລາວ, ຂາຍຜົນລະປູກໃຫ້ລັດ, ຮ້ານຄ້າຂອງລັດ, ຄວາຍບັກຕູ້, ຮັກສາແຂ້ວໃຫ້ສະອາດ, ກັນພະຍາດໃນຍາມຝົນ, ຮັກຊາດແມ່ນແນວໃດ, ຊ່ອຍວຽກພໍ່ແມ່ຍາມພັກຮຽນ, ປ່ຽນອາຊີບລົງເຮັດນາ, ຄວາມຮັ່ງມີຂອງປະເທດເຮົາ, ມື້ຮຽນທ້າຍປີ, ປີໃຫນ່ລາວ, ຕອນແລງຍາມຮ້ອນ, ຫຸງເຂົ້າແຕ່ງກິນແຊບ, ຄວາມຮູ້ແມ່ນຫຍັງ, ຂ້ອຍໄປນານໍາພໍ່, ແສງແດດຍາມເຊົ້າ, ພູຜາປ່າດົງ, ອະນາຄົດຂອງຊາດ, ການທໍາມາຫາກິນຂອງຊາວບ້ານເຮົາ, ການເຮັດນາແຊງ, ໄປຢາມລຸງຢູ່ວຽງຈັນ, ເລື່ອງເລັນຫນ້າຍ້ອຍ เรื่องอื่นนอกจากนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย