ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีความเป็นมาคู่กับประเทศไทย มีศิลปะวิทยาการที่เจริญรุ่ง เรืองมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีภาษาลาวเป็นภาษาประจําชาติ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า นับแต่เจ้าฟ้างุ่มมหาราชได้รวบรวมแผ่นดิน และประชาชนให้อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน เมื่อปี พ.ศ. 1869 ที่เรียกว่าอาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรนี้ได้เจริญรุ่งเรืองมาตามลําดับ จนถึงสมัยเจ้าสุริยวงศาขึ้นปกครองประเทศ เมื่อ พ.ศ. 2176-2233 ในรัชกาลนี้ถือว่าอาณาจักรล้านช้างเจริญรุ่งเรือง สูงสุด มีอาจารย์ นักปราชญ์ เขียนหนังสือคัมภีร์ ฎีกา กฎหมาย เป็นตำราเผยแพร่ไปทั่วอาณาจักร 

นอกจากนี้ วัดวาอารามยังได้รับการบูรณะ และก่อสร้างขึ้นมาเป็นจํานวนมาก มีหลักฐานจากการบันทีกของพ่อค้าชาวฮอลันดาได้เข้าไปค้าขายกับลาวในสมัยนั้น บันทึกไว้ว่า “นครเวียงจันทน์มีวัดพุทธศาสนามากมาย มีพระภิกษุสงฆ์สามเณรร่ำเรียนอยู่ในวัดมากกว่าทหารอยู่ในกองทัพ” หลังจากสมัยของเจ้าสุริยวงศา อาณาจักรล้านช้างก็เสื่อมลง สาเหตุเพราะเกิดความแตกแยกภายใน และการช่วงชิงกันขึ้นเป็นเจ้าปกครอง เหตุการณ์นี้ได้ดําเนินติดต่อกันมาจนถึง พ.ศ. 2322 ราชอาณา จักรลาวก็ตกเป็นเมืองขึ้นของราชอาณาจักรสยาม (ประเทศไทย) จนถึงปี พ.ศ. 2436 ก็ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส เช่นเดียวกับกัมพูชา และเวียดนาม จึงมีชื่อเรียกดินแดนของประเทศทั้งสามนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “อินโดจีนของฝรั่งเศส”

เมื่อฝรั่งเศสปกครองลาวแล้ว ฝรั่งเศสได้ทําสัญญาให้ลาวเป็นประเทศอิสระปกครองตนเอง ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยรวมลาวทุกภาคให้อยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ราชอาณาจักรลาวเป็นอิสระอยู่ในเครือจักรภพของฝรั่งเศส ได้เป็นเอกราชตามข้อตกลงที่เจนีวาใน พ.ศ. 2497 รัฐบาลชุดแรก มีท้าวผุย ชนะนิกร เป็นนายกรัฐมนตรี เจ้าสุภานุวงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี แต่รัฐบาลนี้ก็อยู่ได้ไม่นานก็เกิดความแตกแยกภายใน เพราะผู้น้าฝ่ายขบวนการประเทดลาว (ลาวคอมมิวนิสต์) บางคนได้ร่วมเป็นรัฐมนตรีด้วย สงครามกลางเมืองในลาวจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับสงครามกลางเมืองในเวียดนาม ในรัฐบาลลาวจึงเกิดการปฏิวัติแย่งชิงอํานาจกันอยู่เรื่อยๆ ทําให้ผู้มีอำนาจในลาวแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่าย จนเรียกว่า“ศึกสามเจ้าลาว” 

ซึ่งมีลาวฝ่ายขวามีเจ้าบุญอุ้ม ณ จัมปาศักดิ์ เป็นผู้นํา ลาวฝ่ายเป็นกลางมีเจ้า สุวรรณภูมา เป็นผู้นํา และลาวฝ่ายซ้ายมีเจ้าสุภานุวงศ์ เป็นผู้นํา การสู้รบในลาวได้ดําเนินเรื่อยมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุนรัฐบาลลาวต่อสู้กับลาวฝ่ายซ้าย (ลาว คอมมิวนิสต์ ) จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 สหรัฐอเมริกาเบื่อหน่ายสงครามในอินโดจีนจึงมีการเจรจา จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นใหม่ รัฐบาลผสมคราวนี้ลาวฝ่ายซ้ายมีอํานาจมาก เนื่องจากพวกคอมมิวนิสต์ ได้เปรียบในสงครามเวียดนาม ในขณะเดียวกันฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ได้ชัยชนะในเขมร และในเวียดนามด้วย 

พวกฝ่ายซ้ายในลาวก็เริ่มบีบบังคับฝ่ายขวารัฐบาลผสมในลาว จนในที่สุดในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ฝ่ายลาวคอมมิวนิสต์ก็สามารถยึดครองลาวทั่วประเทศได้สําเร็จ โดยการนําของ ท่านไกรสอน พรมวิหาร ได้จัดตั้งรัฐบาลลาวคอมมิวนิสต์ขึ้นปกครองประเทศ และได้เปลี่ยนชื่อราชอาณาจักรลาวเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ส.ป.ป. ลาว) แบ่งเขต การปกครองออกเป็น 17 แขวง (จังหวัด) รวมเขตพิเศษอีก 1 เขต คือไชยสมบูรณ์เป็น 18 แขวง นับเวลาหลายทศวรรษมาแล้วที่ประชาชนลาวได้ใช้อักษรลาวบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติลาว เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปะวิทยาการต่างๆ ตลอดจนวรรณกรรมอันล้ำค่าของลาวแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน 

จึงนับได้ว่าภาษาลาวมีความจําเป็น และสําคัญต่อผู้ที่สนใจที่จะศึกษาเพื่อค้นหาประวัติความเป็นมาของชนชาติต่างๆ ในอาณาเขตรอบตัวเรา ส่วนเรื่องของคุณค่าของภาษาลาวนั้น ก็นับได้ว่าเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นคนลาว เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของลาวอย่างแท้จริง เพราะประชาชนในภูมิภาคบ้านใกล้เรือนเคียงกันซึ่งมีทั้งชาว จีน เขมร เวียตนาม เมียนมาร์ ไทย และลาว ถ้าจะดูที่รูปร่างหน้าตาภายนอกโดยทั่วไปแล้ว เราแทบจะบอกไม่ได้ว่าประชาชนในเชื้อชาติเหล่านี้เป็นคนเชื้อชาติใด แต่ถ้าเมื่อชนชาติเหล่านี้พูดภาษาประจ่าชาติของตน เราก็จะบอกได้ทันทีว่าเขาเป็นชาวจีน เขมร เวียดนาม เมียนมาร์ ไทย หรือลาว 

กระแสความต้องการทางการเมืองการปกครองของประเทศค่อนข้างรุนแรง จนกระทั่งในปัจจุบัน ภาษาเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการติดต่อสื่อสาร ภาษาแสดงถึงอดีตความเป็นมาของชนชาติ และเชื้อชาติ ภาษาแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง และความล่มสลายของชนชาติ และเชื้อชาติเพราะภาษาเป็นเครื่องมือสําหรับใช้จดบันทึกเรื่องราวต่างๆ  ของชนชาติ และเชื้อชาติ ภาษาลาวก็มีการจดบันทีกประวัติศาสตร์อันยาวนานของประเทศลาว ไม่น้อยไปกว่าที่ประเทศไทย และชนชาติไทยมีภาษาไทยเป็นของตนเอง ภาษาลาวมีกําเนิด และพัฒนาการทางภาษามายาวนานคล้ายกับภาษาไทย ที่มีการพัฒนาของภาษามายาวนานเช่นเดียวกัน ต่างกันแต่ว่าภาษาลาวมีการเปลี่ยนแปลงไปตาม

แต่ก็กล่าวได้ว่าประเทศลาวเป็นประเทศหนึ่งที่มีภาษาของตนเอง ทั้งภาษาเขียน แบบราชการ และภาษาพูด แบบชาวบ้านทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อความเหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคลที่พูดด้วย และตามสถานการณ์ รวมทั้งการสนทนาพูดคุยกับพระภิกษุสงฆ์อีกส่วนหนึ่งด้วย เนื่องจากภาษาลาวมี การปรับเปลี่ยนเรื่อยมาเป็นยุคสมัย ในแต่ละสมัยก็มีแบบแผนการเขียนแตกต่างกัน หากจะกล่าว โดยสรุปแล้ว แนวทางการเขียนภาษาลาวมีเป็น 3 แนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ 1 เขียนสะกดตามแบบของท่านสมจิน ปิแอร์ งิน (Somjin Pierre Ngin) โดยสะกดตามแบบที่ได้กำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสภา ซึ่งมีพระราชโองการจากเจ้ามหาชีวิตโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เลขที่ 10 พ.ศ. 2491 โดยให้สะกดตามเสียงที่อ่าน แต่ยังคงรักษาภาษาเดิมไว้ 

แนวทางที่ 2 เขียนสะกดตามแบบของท่านมหาสีลา วีระวงศ์ โดยให้สะกดตามแบบฉบับ ดั้งเดิมทุกประการ

แนวทางที่ 3 เขียนสะกดตามแบบของท่านภูมิ วงศ์วิจิตร คือให้สะกดตามเสียงที่พูดที่อ่านกันเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างแบบที่ 3 นี้ได้เริ่มใช้หลังจากที่ประเทศลาวได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2518 และยังคงใช้แบบนี้เรื่อยมาจนกระทั่งในปัจจุบัน

ตารางเปรียบเทียบการเขียนภาษาลาว

ภาษาไทย แบบราชบัณฑิตสภา สมจิน ปิแอร์ งิน แบบท่านสีลา วีระวงศ์ (ก่อน พ.ศ. 2518) แบบท่านภูมิ วงศ์วิจิตร (พ.ศ. 2518-ปัจจุบัน)
กิริยา ກິຣິຍາ ກິຣິຍາ ກິລິຍາ
กายกรรม ກາຍກັມ ກາຍກັມ ກາຍະກຳ
การขยาย ການຂຍາຍ ການຂຍາຍ ການຂະຫຍາຍ
ผม-ฉัน ຂ້ຽ ຂ້ຽ ຂ້ອຍ
ข้าพเจ้า ຂນ້ຽ ຂ້ານ້ຽ ຂ້ານ້ອຍ
คณะกรรมการ ຄນະກັມມະການ ຄນະກັມມະການ ຄະນະກຳມະການ
ค้างคาว ເຈ້ຽ ເຈັຽ ເຈຍ
คำเสนอ ຄຳສເນີ ຄຳສເນີ ຄຳສະເໜີ
ครู ຄຣູ ຄຣູ ຄູ
ความชรา ຄວາມຊະຣາ ຄວາມຊະຣາ ຄວາມຊະລາ
เจริญ ຈະເຣີນ ຈະເຣີນ ຈະເລີນ
เจ้ากรม ເຈົ້າກຣົມ ເຈົ້າກຣົມ ເຈົ້າກົມ
สุจริต ສຸຈຣິດ ສຸຈຣິດ ສຸດຈະລິດ
สนอง ສນອງ ສນອງ ສະໜອງ
เสนอ ສເນີ ສເນີ ສະເຫນີ
สนุก ສນຸກ ສນຸກ ສະນຸກ
สระ ສຣະ ?ຮະ ສະຫຼະ
พยัญชนะ ພຍັນຊນະ ພຍັນຊນະ ພະຍັນຊະນະ
พระสงฆ์ ພຣະສົງ ພຣະສົງ ພະສົງ
ศาสนา ສາສນາ ສາສນາ ສາສະໜາ
ทาส ທາສ ທາສ ທາດ
ถนน ຖນົນ ຖນົນ ຖະຫນົນ
มูลปฐม ມູລປະຖົມ ມູລປະຖົມ ມູນປະຖົມ
อาศัย ອາສັຍ ອາສັຍ ອາໃສ
อันตราย ອັນຕະຣາຍ ອັນຕະຣາຍ ອັນຕະລາຍ
อารมณ์ ອາຣົມ ອາຣົມ ອາລົມ
ประโยชน์ ປໂຍດ ປໂຍດ ປະໂຫຍດ
เป็นระยะ ເປັນລະຍະ ເປັນລະຍະ ເປັນໄລຍະ
ประโยค ປໂຍດ ປໂຍດ ປະໂຫຍດ
ประวัติ ປວັດ ປວັດ ປະຫວັດ
ผัวเมีย ປົວ ເມັຽ ຜົວ ເມັຽ ຜົວ ເມຍ
เลียมือ ເລັຽມື ເລັຽມື ເລຍມື
พจนานุกรม ວັຈນານຸກົມ ວັຈນານຸກົມ ວັດຈະນານຸກົມ
ฝรั่งเศส ຝະຣັ່ງເສດ ຝະຣັ່ງເສດ ຝະລັ່ງເສດ
วัยเรียน ວັຍຮຽນ ວັຍຮຽນ ໄວຮຽນ
วรรณกรรม ວັນນະກັມ ວັນນະກັມ ວັນນະກຳ
ใหญ๋ ໃຫຽ ໃຫຽ ໃຫຍ່
ราชการ ຣາຊການ ຣາຊການ ລັດຖະການ
รัฐมนตรี ຣັຖມົນຕີ ຣັຖມົນຕີ ລັດຖະມົນຕີ
ฤดูปี ຣະດູປີ ຣະດູປີ ລະດູປີ
หลวงพระบาง ຫຼວງພຣະບາງ ຫຼວງພຣະບາງ ຫຼວງພະບາງ
สารบาญ ສາຣະບານ ສາຣະບານ ສາລະບານ
ผาลอย ຜາລຽ ຜາລຽ ຜາລອຍ
เดียรัจฉาน ເດັຽຣະສານ ເດັຽຣະສານ ເດຍລະສານ

ภาษาเป็นพาหนะสําคัญยิ่งที่นําประเทศลาวไปสู่ความเจริญในทุกด้าน มีภาษาพูด ภาษาเขียนเพื่อการจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ เอาไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า ดังนั้น จึงจําเป็นต้องมีการกําหนดหลักเกณฑ์ทางภาษาเอาไว้เป็นส่วนสําคัญด้วย โดยเทียบเคียงกับหลักภาษาของนานาอารยประเทศทั้งหลาย จึงจะเห็นว่าภาษาลาวก็มีทั้งส่วนที่เป็นเรื่องการออกเสียงอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ การจําแนกประเภทของพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ คํานาม คําสรรพนามเป็นต้น อันเรียกรวมว่าวจีวิภาค 

ทํานองเดียวกับที่มีในการเรียนภาษาไทยทั้งๆ ที่ภาษาลาว และภาษาไทยแบบขนานแท้ตั้งเดิมแต่โบราณนั้นเป็นภาษาคำโดด มีพยางค์เดียว พูดหรือเขียนเข้าใจได้ง่าย เช่น กิน นอน ยืน ย่าง (เดิน) นั่ง แล่น (วิ่ง) เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศลาวได้นำภาษาบาลี สันสกฤตเข้าไปใช้อันเกิดจาการรับนับถือพระพุทธศาสนา แบบแผนของภาษาบาลี สันสกฤตก็เข้าปะปนกับภาษาไทย และภาษาลาวจนแทบจะแยกกันไม่ออก ดังนั้น ในการศึกษาภาษาลาวในเล่มนี้ จึงจําเป็นต้องใช้รูปแบบมาตรฐานของการศึกษาภาษาสากลทั่วไป แต่ขอให้เข้าใจว่าแบบแผนการเรียนนี้ ผู้เขียนกําหนดขึ้นโดยเทียบเคียงกับการศึกษาภาษาไทยเป็นแนวทาง ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากประเทศลาวในขณะนี้กําลังอยู่ในระหว่างการปรับเปลี่ยนวิธีการเขียนภาษาลาวแบบเก่า ให้เป็นแบบใหม่ซึ่งใช้สอนกันอยู่ในโรงเรียนทั่วไปของ ส.ป.ป. ลาว ปัจจุบัน 

ดังนั้น เพื่อให้นักศึกษาเกิดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาลาวสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นจริงมากที่สุด ผู้เขียนจึงได้เลือกเรื่องต่างๆ จากหนังสือเรียนของกระทรวงศึกษาธิการลาวมาสำหรับการฝึกหัดอ่านคือเรื่อง ປະເທດລາວ, ຂາຍຜົນລະປູກໃຫ້ລັດ, ຮ້ານຄ້າຂອງລັດ, ຄວາຍບັກຕູ້, ຮັກສາແຂ້ວໃຫ້ສະອາດ, ກັນພະຍາດໃນຍາມຝົນ, ຮັກຊາດແມ່ນແນວໃດ, ຊ່ອຍວຽກພໍ່ແມ່ຍາມພັກຮຽນ, ປ່ຽນອາຊີບລົງເຮັດນາ, ຄວາມຮັ່ງມີຂອງປະເທດເຮົາ, ມື້ຮຽນທ້າຍປີ, ປີໃຫນ່ລາວ, ຕອນແລງຍາມຮ້ອນ, ຫຸງເຂົ້າແຕ່ງກິນແຊບ, ຄວາມຮູ້ແມ່ນຫຍັງ, ຂ້ອຍໄປນານໍາພໍ່, ແສງແດດຍາມເຊົ້າ,  ພູຜາປ່າດົງ, ອະນາຄົດຂອງຊາດ, ການທໍາມາຫາກິນຂອງຊາວບ້ານເຮົາ, ການເຮັດນາແຊງ, ໄປຢາມລຸງຢູ່ວຽງຈັນ, ເລື່ອງເລັນຫນ້າຍ້ອຍ เรื่องอื่นนอกจากนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย

Share.
Exit mobile version