บทที่ 5: คำนาม
คำนามคืออะไร? คำนามคือคำที่แสดงความหมายถึงบุคคล สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ และลักษณะ ทั้งนี้รวมถึงสิ่งมีชีวิตที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม ตัวอย่างเช่น
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ທ້າວຄຳຫຼາຍ, ທ່ານຄຳຫລາຍ | ท้าวคำหลาย, ท่านคำหลาย | นายคำหลาย |
ນາງບົວແກ້ວ | นางบัวแก้ว | นางบัวแก้ว |
ນົກ | นก | นก |
ງົວ | งัว | วัว |
ຕຽງ | เตียง | เตียง |
ຈອກ | จอก | แก้วน้ำ |
ແກ້ວ | แก้ว | แก้ว |
ຄວາມສັດຊື່ | ความสัตย์ซื่อ | ความซื่อสัตย์ |
หน้าที่ของคำนาม
คำนามทำหน้าที่ในประโยคได้หลายหน้าที่คือ
1. ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ຄູສີດສອນປື້ມເດັກ | คูสีดสอนปื้มเด็ก | ครูสอนหนังสือเด็ก |
ແມ່ຮ້າຍລູກ | แม่ฮ้ายลูก | คุณแม่ดุลูก |
2. ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ຕຳຫລວດຍິງຜູ້ຮ້າຍ | ตำรวจยิงผู้ฮ้าย | ตำรวจยิงผู้ร้าย |
ເດັກດື້ຈັບນົກ | เด็กดื้อจับนก | เด็กซนจับนก |
ในประโยคที่เป็นภาษาเขียน ส่วนมากจะเรียงประธานไว้หน้ากริยา แต่ในบางกรณีอาจจะเรียงกรรมไว้ต้นประโยคได้ ตัวอย่างเช่น
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ກາເຟຮ້ອນຄູກິນມົດແລ້ວ | กาเฟฮ้อน คูกินหมดแล้ว | กาแฟร้อนครูดื่มหมดแล้ว |
บทที่ 6: คำสรรพนาม
คำสรรพนามคืออะไร? กล่าวโดยสรุป คำสรรพนามคือคำที่ใช้แทนนาม คำสรรพนามในภาษาลาวมีหลักการใช้ดังนี้
- คำสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้พูด เรียกว่า “บุรุษที่ 1”
- คำสรรพนามที่ใช้แทนตัวผู้ฟัง เรียกว่า “บุรุษที่ 2”
- คำสรรพนามที่ใช้แทนตัวบุคคล หรือสิ่งอื่นใดที่ได้กล่าวถึง เรียกว่า “บุรุษที่ 3”
สรรพนามใช้แทนบุคคล
สรรพนามบุรุษที่ 1 ในภาษาลาวมีคำว่า
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ຂ້ອຍ | ข้อย | ข้อย |
ຂ້ານ້ອຍ | ข้าน้อย | ข้าน้อย |
ຂ້າພະເຈົ້າ | ข้าพะเจ้า | ข้าพเจ้า |
ກູ | กู | กู |
ເຮົາ | เฮา | เรา |
สรรพนามบุรุษที่ 2 ในภาษาลาวมีคำดังต่อไปนี้
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ເຈົ້າ | เจ้า | เจ้า |
ທ່ານ | ท่าน | ท่าน |
ມືງ | มึง | มึง |
ພະຄຸນເຈົ້າ | พะคุณเจ้า | พระคุณเจ้า |
สรรพนามบุรุษที่ 3 ในภาษาลาวมีคำดังต่อไปนี้
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ເຂົາ | เขา | เขา |
ລາວ | ลาว | ลาว |
ມັນ | มัน | มัน |
ທ່ານ | ท่าน | ท่าน |
ເຈົ້າ | เจ้า | เจ้า |
เครื่องหมายของคำสรรพนาม
เครื่องหมายของคำสรรพนาม มีพจน์ คือเอกพจน์ และพหูพจน์
- เอกพจน์ คำสรรพนามทั้งหมดที่เป็นเอกพจน์ไม่มีเครื่องหมายใดๆ บ่งบอกให้รู้ แต่หากเป็นเอกพจน์อยู่ภายในคำของมันเอง เช่น
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ຂ້ອຍ | ข้อย | ข้อย |
ຂ້າພະເຈົ້າ | ข้าพะเจ้า | ข้าพเจ้า |
ກູ | กู | กู |
ມືງ | มึง | มึง |
ໄຜ | ไผ | ไผ (ใคร) |
ນີ່ | นี่ | นี่ |
ນັ້ນ | นั้น | นั้น |
ພຸ້ນ | พุ้น | พุ่น (โน่น) |
2. พหูพจน์ คำสรรพนามที่เป็นพหูพจน์นั้นมี 2 พวกดังนี้
ก. พวกเป็นพหูพจน์ในตัวของมันเอง เช่น
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ເຮົາ | เฮา | เรา |
ສູ | สู | สู |
ສູເຈົ້າ | สูเจ้า | สูเจ้า |
ເຂົາ | เขา | เขา |
ກັນ | กัน | กัน |
ข. จำพวกคำอื่นที่ใช้เป็นพหูพจน์มีคำต่อไปนี้
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ນົກ "ຮ້ອງ" ຍາມເຊົ້າ | นก "ฮ้อง" ยามเซ้า | นก "ร้อง" นอนเช้า |
ເຂົາ "ຢ້າຍ" ບ່ອນຈອດລົດ | เขา "ย้าย" บ่อนจอดรถ | เขา"ย้าย" ที่จอดรถ |
บทที่ 7: คำกริยา
คำกริยาคืออะไร? คำกริยา หมายถึง การกระทำ การแสดงกิริยาอาการ การอยู่ในอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง การอยู่ในสภาพอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวอีกอย่างหนึ่ง กริยา ได้แก่การแสดงอิริยาบถ เช่นการยืน เดิน นั่ง นอน หรือการบิน การดำน้ำ การกระโดดโลดเต้น การร้องไห้ การดีใจ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ນົກ "ຮ້ອງ" ຍາມເຊົ້າ | นก "ฮ้อง" ยามเซ้า | นก "ร้อง" นอนเช้า |
ເຂົາ "ຢ້າຍ" ບ່ອນຈອດລົດ | เขา "ย้าย" บ่อนจอดรถ | เขา"ย้าย" ที่จอดรถ |
คำที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด แสดงความหมายว่า “กระทำ”
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ຜູ້ເຖົ້າ "ເຫນື່ອຍ" | ผู้เถ้า "เหนื่อย" | คุณตา "เหนื่อย" |
ປ້າ "ເປັນເຈັບ" | ป้า "เป็นเจ็บ" | คุณป้า "ป่วย" |
คำที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด แสดงความหมายว่า “มีอาการ”
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ໝາກໄມ້ເຫ່ຍ "ກະຕ່າຍັງຢູ່" | หมากไม้เหี่ย "กะต้ายังอยู่" | ผลไม้หาย "ตะกร้ายังอยู่" |
ມື້ວານໄຜ "ບໍ່ມາແຫນ່" | มื้วานไผ "บ่อมาแหน่" | เมื่อวานใคร "ขาดบ้าง" |
หมายเหตุ: คำที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด แสดงความหมายว่า “อยู่ในสภาพ”
หน้าที่ของคำกริยา
คำกริยาทำหน้าที่เป็นตัวแสดงของประโยค เป็นหน้าที่สำคัญที่สุด เพราะประโยคโดยทั่วไปจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือภาคประธาน และภาคแสดง ตัวแสดงของภาคแสดงเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับตัวประธานของประโยค ตัวอย่างเช่น
คำอ่านภาษาลาว | คำอ่านภาษาไทย | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
ເຕົ່າຍ່າງຊ້າ | เต่าย่างซ้า | เต่าเดินช้า |
ລົດແລ່ນໄວ | รถแล่นไว | รถวิ่งไว |
ເຈົ້າເວົ້າດີ | เจ้าเว่าดี | คุณพูดดี |
ທ່ານກິນແລ້ວ | ท่านกินแล้ว | ท่านรับประทานแล้ว |
ຂ້ອຍຢ່າງໄປຕະຫລາດ | ข้อยย่างไปตะหลาด | ข้าพเจ้าเดินไปตลาด |